พุยพุย

วันอาทิตย์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2558

วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

การบันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 16

วันพุธ  ที่ 25 เดือนพฤศจิกายน  พ.ศ. 2558



เนื้อหา


วันนี้มีการสอบร้องเพลง  เก็บคะแนน

เพลงที่จับสลากได้คือ   เพลงนม





ได้ 5 คะแนน



ประเมินตัวเอง 

วันนี้ร้องเพลง ให้เต็ม 100 %


ประเมินเพื่อน

เพื่อนมีความตั้งใจ สร้างความสนุกสนานมากในการสอบดีมากเลย



ประเมินอาจารย์

อาจารย์ใจดีมากเลย ผิดยังไงก็ให้แก้แล้วแก้อีก ใจดีที่สุดค่ะ



วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

การบันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 15

วันพุธ  ที่ 18  เดือนพฤศจิกายน  พ.ศ. 2558

เนื้อหา

อาจารย์ได้พูดคุยกับนักศึกษาในเรื่องการสอบ

กิจกรรมบทบาทสมมติ ให้แต่ละกลุ่ม ออกไปเล่านิทานที่แต่งเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

กลุ่มที่ 1  เฉลย คือ กระต่าย

กลุ่มที่ 2 เฉลย คือ หนอนผีเสื้อ

กลุ่มที่ 3 (กลุ่มตัวเอง และยังได้เป็นคนเล่านิทานด้วย )  เฉลย  คือ เงาะ











ต่อมา อาจารย์อธิบายเรื่อง การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมประสบการณ์ทางภาษา  อีกทั้งยังลองให้นักศึกษาเขียนแผนกิจกรรม (ส่งสัปดาห์หน้า)






ประเมินตนเอง

เข้าเรียนสาย 10 นาที เนื่องจากหากุญแจห้องไม่เจอ  วันนี้ทำกิจกรรมได้เต็มที่ ทั้งการแสดงบทบาทสมมติเป็นคุณครูเล่านิทานให้เด็ก ๆ ฟัง แล้วก็เข้าใจงานที่อาจารย์มอบหมายให้พอสมควร


ประเมินเพื่อน

ให้ความร่วมมือกับทุกกิจกรรมดี ตั้งใจฟังเป็นส่วนใหญ่ บางคนก็คุยกัน


ประเมินอาจารย์

พาทำกิจกรรมได้สนุกสนาน  อธิบายงานได้ละเอียด และเข้าใจง่าย รวมไปถึงการให้คำปรึกษาที่เป็นประโยชน์แก่การทำงาน







การบันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 14

วันพุธ  ที่ 11 เดือนพฤศจิกายน  พ.ศ. 2558


เนื้อหา
       
อาจารย์ได้อธิบายสื่อภาษาสร้างสรรค์  โดยให้แบ่งกลุ่มทำกิจกรรมในชั้นเรียน


                              












ประเมินตนเอง

มีส่วนร่วมในการออกความคิดเห็นในการเลือกสิ่งที่จะวาด และแต่งเรื่อง  ตั้งใจทำงานเพื่อนมีอะไรให้ช่วยก็ช่วยอย่างเต็มที่ 



ประเมินเพื่อน

เพื่อนๆ พูดกันเสียงดังบ้าง แต่ก็มีความสนุกสนานเฮฮา เพราะต่างกลุ่มก็ต่างปรึกษาหารือกัน แล้วตั้งใจทำผลงานกันทุกคน ถือเป็นเรื่องดี


ประเมินอาจารย์

อธิบายกิจกรรมได้ชัดเจน ตอบคำถามของนักศึกษาได้ละเอียดมาก






       

การบันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 13

วันพุธ  ที่ 4  เดือนพฤศจิกายน  พ.ศ. 2558


เนื้อหา

อาจารย์ให้ฟัง        -    เสียงสัตว์  มีทั้งหมด 11 ตัว

                              -    เสียงของดนตรี 15 ชนิด


อาจารย์ให้กิจกรรม            

รอบแรก   โดยให้นักศึกษาพูดชื่อของตัวเองพร้อมกับทำท่าประกอบ

รอบที่ 2 ให้จำชื่อเพื่อนและท่าที่เพื่อนทำของคนที่อยู่ขวามือเรา


ทบทวนเพลง  5 เพลง

( เพลงอะไรเอ่ย  เพลงกระต่าย  เพลงลูกสัตว์  เพลงนั่งรถไฟ  และเพลงเรือพาย )






กิจกรรมต่อมา คือ การฝึกเขียนกระดาน ด้วยตัวอักษรหัวกลมตัวเหลี่ยม  โดยมีเงื่อนไข ดังนี้ 

1.กระดาษแผ่นที่ 1 ให้เขียนชื่อจริง นามสกุล 

2.กระดาษแผ่นที่ 2 ให้เขียนตามคำที่เพื่อนบอก

3.กระดาษแผ่นที่ 3 ให้เขียนประวัติส่วนตัวของตัวเอง และส่งอาจารย์















ประเมินตัวเอง

มีความตั้งใจมากในการเขียน ซึ่งผลงานก็ยังไม่ค่อยเป็นที่พอใจ แต่มีความพยามมากที่จะให้ผลงานออกมาดีที่สุดเท่าที่จะทำได้


ประเมินเพื่อน

ต่างคนก็ต่างตั้งใจทำงานของตนอย่างมุ่งมั่น ทำให้บรรยากาศภายในห้องเงียบสงบ และมีสมาธิ



ประเมินอาจารย์

อาจารย์อธิบายงานได้เข้าใจดี และคอยชี้แนะ ให้คำปรึกษาในด้านการเขียนได้เป็นอย่างดี












การบันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 12

วันพุธ   ที่  28  เดือนตุลาคม  พ.ศ. 2558


เนื้อหา

ทบทวนเพลง 5 เพลง ดังนี้

( เพลงอะไรเอ่ย  เพลงกระต่าย  เพลงลูกสัตว์  เพลงนั่งรถไฟ  และเพลงเรือพาย )




ต่อมาเป็นการแสดงบทบาทสมมติ  โดยให้แต่ละกลุ่มออกมาร้องเพลงที่ตัวเองแต่ง ในสัปดาห์ที่แล้ว
พร้อมกับมีท่าประกอบ

โดยมีขั้นตอนการสอนดังนี้


                 1.คุณครูร้องเพลงให้นักเรียนฟังก่อน 1 รอบ

               2. คุณครูร้องเพลงครั้งละ 1 วรรค แล้วให้นักเรียนร้องตาม

               3. คุณครูและนักเรียนร้องเพลงไปพร้อมกัน

               4. คุณครูและนักเรียนร้องเพลงไปด้วยกันพร้อมท่าทางประกอบ






กิจกรรมต่อมา อาจารย์ให้นับเรียงต่อกัน 1-2-3-4 ไปจนครบทุกคนแล้วแบ่งกลุ่มกัน จากนั้นส่งตัวแทนเพื่อน 1 คนในกลุ่ม ไปจำประโยคสั้น ๆ กลุ่มละ 1 ประโยค แล้วกระซิบเพื่อนคนถัดมาเรื่อย ๆ พอหมดเวลา ให้คนสุดท้ายของแต่ละกลุ่ม ลุกขึ้นยืนตอบว่าประโยคที่เพื่อนกระซิบต่อกันนั้น ว่าอย่างไร

" ถ้าธรรมะ แล้วจะไม่เพ้อเจ้อ  แต่ถ้าฟังพีชเมคเกอร์ จะละเมอถึงแต่เรื่องบนเตียง "


ต่อมาอาจารย์ให้ดู วิธีการสอนแบบ Project Approach  ของโรงเรียนเกษมพิทยา


https://www.youtube.com/watch?v=ffbZFWVFrEs




ประเมินตนเอง

มาเรียนทันเวลา เข้าร่วมทุกกิจกรรมด้วยความตั้งใจ และสนุกสนาน 



ประเมินเพื่อน

ทุกคนมีความตั้งใจทำกิจกรรมดีมาก ทำให้บรรยากาศในห้องเรียน สนุกสนาน น่าเรียน


ประเมินอาจารย์

อธิบายส่วนที่เป็นเนื้อหาได้ละเอียด มีการนำวีดีโอตัวอย่างมาให้ชม เพื่อที่อยากให้นักศึกษาเข้าใจและนำไปใช้ได้





การบันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 11

วันพุธ   ที่ 21  เดือนตุลาคม  พ.ศ 2558

เนื้อหา 

อาจารย์ให้แต่ละกลุ่ม แต่งเพลง ตามหัวข้อคำคล้องจองที่ตัวเองได้รับ


กลุ่มของฉัน ตั้งชื่อเพลงว่า   ผลไม้ของฉัน














หลังจากแต่งเพลงเสร็จ อาจารย์ก็ให้ทำไม้ ประจำตัว โดยมีวัสดุ และอุปกรณ์ให้







หลัจจากนั้น อาจารย์ได้สาธิตวิธีการสอนเด็ก ๆ ร้องเพลง โดยมีขั้นตอน 4 ขั้นตอน ดังนี้


    1. คุณครูร้องเพลงให้นักเรียนฟังก่อน 1 รอบ

    2. คุณครูร้องเพลงครั้งละ 1 วรรค แล้วให้นักเรียนร้องตาม

    3. คุณครูและนักเรียนร้องเพลงไปพร้อมกัน

    4. คุณครูและนักเรียนร้องเพลงไปด้วยกันพร้อมท่าทางประกอบ



ประเมินตัวเอง

ได้มีส่วนร่วมในการแต่งเพลง แล้วเพื่อนยอมรับในความคิดเห็นของเรา ก็ถือว่าดี  รู้สึกดี  พร้อมทั้งยังได้ลงมือทำสิ่งประดิษฐ์ของตัวเอง  ก็ถือว่า ทำได้ในระดับหนึ่ง แต่ยังไม่ค่อยสวย


ประเมินเพื่อน

ทุกคนร่วมด้วยช่วยกัน ทำผลงานกลุ่ม และเดี่ยว ของตนเองอย่างตั้งใจ อีกทั้งผลงานของแต่ละกลุ่มก็สวยๆ ทั้งนั้นเลย



ประเมินอาจารย์

อาจารย์สอนดี เข้าใจง่าย และยังให้อิสระในด้านความคิดของนักศึกษา  อีกทั้งยังช่วยแนะนำ แต่งเติมในส่วนที่อาจจะขาดความละเอียด ไปบ้าง 








การบันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 10

วันพุธ ที่ 14 เดือนตุลาคม  พ.ศ.2558

เนื้อหา

อาจารย์ทบทวนเทคนิคการอ่านคำคล้องจอง

มีเทคนิคดังนี้ 

1.อ่านพร้อมกับชี้คำ ให้เด็กฟังก่อน 1 รอบ

(ควรจัดท่านั่งของตัวเองให้เหมาะสม ตาพยายามมองที่เด็ก ให้ความสนใจกับทุกคน)

2.อ่านพร้อมกับชี้คำ แล้วให้เด็กอ่านตามทีละวรรค

3.อ่านไปพร้อมกับครู

อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกไปแสดงบทบาทสมมติ

กลุ่มที่ 1 เรื่อง สวนสัตว์

กลุ่มที่ 2 เรื่อง ผลไม้หรรษา

กลุ่มที่ 3  เรื่อง  ขนมไทยอะไรเอ่ย

กลุ่มที่ 4  เรื่อง  ผลไม้  (กลุ่มตัวเอง)










กลุ่มที่ 5 เรื่อง อาหารไทย



**แต่ละกลุ่มก็จะได้คำชมและคำแนะนำจากอาจารย์ เพื่อนำไปปรับปรุง และพัฒนาตนเองต่อไป




ประเมินตนเอง

ได้รับความรู้เต็มที่ และได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมผ่านไปได้อย่างมีความสุข


ประเมินเพื่อน


เพื่อนให้ความสนใจ และเงียบฟังอย่างตั้งใจ พอถึงช่วงที่ต้องช่วยกันตอบคำถามก็ให้ความร่วมมือดีมาก




ประเมินอาจารย์

อาจารย์สอนเข้าใจดีมาก โดยให้นักศึกษาได้ทดลองทำจริงๆ ถือเป็นประสบการณ์ที่ดี 











การบันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 9

วันพุธ ที่ 7 เดือนตุลาคม  พ.ศ. 2558

เนื้อหา

- ให้จับมือกันเป็นวงกลม แล้วร้องเพลง "รำวง ดอกมะลิ"  พร้อมทำท่ารำประกอบ แล้วจับกลุ่มตามคำสั่งของอาจารย์

- จับกลุ่ม 4 -5 คน แล้วทำสลากหัวข้อเรื่องที่จะแต่งเป็นคำคล้องจอง

( กลุ่มตัวเองส่ง เรื่อง ต้นไม้  จับฉลากได้เรื่อง ผลไม้ )

เมื่อได้กลุ่มแล้ว อาจารย์ให้ทำ  Mind mapping ตามเรื่องที่ได้รับ





เนื้อหาที่ได้ 




หลังจากนั้น อาจารย์ได้สอนเทคนิคการอ่านคำคล้องจอง หน้าชั้นเรียน เพื่ออาทิตย์ถัดไปนักศึกษาจะได้ออกมานำเสนอ

มีเทคนิคดังนี้ 

1.อ่านพร้อมกับชี้คำ ให้เด็กฟังก่อน 1 รอบ

(ควรจัดท่านั่งของตัวเองให้เหมาะสม ตาพยายามมองที่เด็ก ให้ความสนใจกับทุกคน)

2.อ่านพร้อมกับชี้คำ แล้วให้เด็กอ่านตามทีละวรรค

3.อ่านไปพร้อมกับครู


ประเมินตนเอง

มาเรียนทันเวลา ร่วมกิจกรรมอย่างเต็มที่ พร้อมทั้งยังมีส่วนร่วมในการคิดและทำชิ้นงานกับสมาชิกในกลุ่มอย่างเต็มที่



ประเมินเพื่อน

เพื่อนทุกคนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมดีทุกคน และทุกคนต่างก็สนุกสนานในการทำชิ้นงานร่วมกัน


ประเมินอาจารย์


อาจารย์สอนสนุกสนาน ให้ทำกิจกรรมหลากหลาย เพื่อเป็นการพัฒนาตนเองของนักศึกษาด้วย  อีกทั้งยังคอยให้คำปรึกษาเกี่ยวกับชิ้นงาน  ทำให้เข้าใจได้ง่ายและสามารถปฏิบัติได้













วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

การบันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 8

วันพุธ ที่ 30 เดือนกันยายน พ.ศ .2558




ไม่มีการเรียน การสอน 

เนื่องจากเป็นช่วงสอบกลางภาค


การบันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 7

วันพุธ ที่ 23 เดือนกันยายน พ.ศ. 2558





ไม่มีการเรียน การสอน



การบันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 6

วันพุธ ที่ 16  เดือนกันยายน  พ.ศ. 2558


เนื้อหา




ไม่ได้มาเรียน เนื่องจาก ไม่สบาย 



การบันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 5

วันที่ พุธ ที่ 9 เดือนกันยายน พ.ศ. 2558

เนื้อหา

-  สอบเก็บคะแนน เกี่ยวกับพัฒนาการเด็กปฐมวัย อายุ 3ปี - 5ปี




- ทฤษฏีการเรียนรู้


1. แนวคิดของกลุ่มพฤติกรรมนิยม


Skinner >>> สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางภาษา
        
              >>> ให้ความสำคัญกับสิ่งเร้าและดารตอบสนอง


John B. Watson >>> ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก

                                          >>> การวางเงื่อนไขพฤติกรรมของเด็ก เป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้ และผู้ใหญ่สามารถที่จะวางเงื่อนไขให้เด็กเกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์ได้ทุกพฤติกรรม


นักพฤติกรรมนิยมเชื่อว่า

- ภาษาเป็นกระบวนการภายในของมนุษย์

- การเรียนภาษาเป็นผลจากการปรับพฤติกรรมโดยสิ่งแวดล้อม

- เด็กเกิดมาโดยมีศักยภาพในการเรียนรู้ภาษา

- เด็กจะสังเกตและเลียนแบบพฤติกรรม เมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลรอบตัว

- เมื่อได้รับแรงเสริมจะทำให้เด็กเลียนแบบตัวแบบมากขึ้น



2.แนวคิดกลุ่มพัฒนาการทางสติปัญญา

Vygotsky 

- เด็กเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม

- สังคม บุคคลรอบข้าง มีผลต่อการเรียนรู้ภาษาของเด็ก

- เน้นบทบาทของผู้ใหญ่

- ผู้ใหญ่ควรช่วยชี้แนะและขยายประสบการณ์ด้านภาษาของเด็ก


ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของ  Piaget

การที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญในพัฒนาการทางด้านภาษาและสติปัญญา


กระบวนการเรียนรู้ประกอบด้วย 2 กระบวนการ คือ

1.การดูดซึม ( Assimilation )

เป็นกระบวการที่เด็กได้ และดูดซึมภาพต่าง ๆ จากสิ่งแวดล้อมด้วยประสบการณ์ของตนเอง


2.การปรับความเข้าใจเดิมให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ (Accommodation)


- เป็นกระบวนการที่เกิดควบคู่ไปกับการดูดซึม

- โดยการปรับความรู้เดิมที่มีอยู่แล้ว

- ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมหรือประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับ


เมื่อเกิดการดูดซึมและการปรับความเข้าใจ จะเกิดความสมดุล (Equilibrum) กลายเป็นความคิดรวบยอดในสมอง


เพียเจต์ ได้แบ่งพัฒนาการด้านสติปัญญา ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการใช้ภาษา ดังนี้ 

1.ขั้นพัฒนาการด้านประสาทสัมผัส (Sensorimotor Stage) แรกเกิด 2 ปี 

- เด็กเรียนรู้จากประสาทสัมผัสต่าง ๆ 

- เด็กเรียนรู้คำศัพท์จากสิ่งแวดล้อม บุคคลรอบตัว

- เด็กสนใจสิ่งที่อยู่รอบตัวก่อนที่จะเรียนรู้ภาษา

2.ขั้นเตรียมการความความคิดที่มีเหตุผล (Preoperational   Stage)

    2.1 อายุ 2 - 4 ปี (Preconceptual Period) 
 เด็กเริ่มใช้ภาษาและสัญลักษณ์ในการสื่อสาร                  
 เล่นบทบาทสมมติ  การเล่าเรื่อง  แสดงความรู้สึกผ่านสีหน้า 
บอกชื่อสิ่งต่าง ๆ รอบตัว ภาษาของเด็กมีลักษณะยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง 
จะใช้ภาษาหรือสัญลักษณ์แสดงออกโดยคิดว่าคนอื่นคิดเหมือนตน

    2.2 อายุ 4 - 7 ปี  (Intuitive  Period)   ใช้ภาษาในการสื่อสารได้ดีกับคนรอบข้าง ให้ความสนใจกับสิ่งที่เป็นนามธรรมได้บ้าง ยังยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง  รู้จักสร้างมโนทัศน์โดยอาศัยการจัดกลุ่มวัตถุ สามารถเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งของ

3.ขั้นการคิดแบบรูปธรรม (Concrete Operational Stage)  อายุ 7 - 11 ปี  เด็กสามารถแก้ปัญหาได้โดยใช้เหตุผลที่เป็นรูปธรรม

4.ขั้นการคิดแบบนามธรรม  (Formal  Operational  Stage)  อายุ 11 - 15 ปี 
      
     เด็กคิดด้วยเหตุผลอย่างเป็นระบบ

     ใช้เหตุผลในการแก้ปัญหา

     เข้าใจกฎเกณฑ์ของสังคม

     สร้างมโนทัศน์ให้สัมพันธ์กับนามธรรม



3.แนวคิดของกลุ่มที่เชื่อเรื่องความพร้อมทางร่างกาย

Arnold  Gesell

- เน้นความพร้อมทางร่างกายในการใช้ภาษา

- ความพร้อม วุฒิภาวะของเด็กแต่ละคนไม่เท่ากัน

- เด็กบางคนอาจมีความพร้อมทางร่างกายในการใช้ภาษาได้เร็ว

- เด็กบางคนอาจมีปัญหาอวัยวะบางส่วนที่ใช้ภาษาในการสื่อสารบกพร่อง



4.แนวคิดของกลุ่มที่เชื่อว่าภาษาติดตัวมาตั้งแต่เกิด

Noam Chomsky 

ภาษาเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในตัวมนุษย์

- การเรียนรู้ภาษา ขึ้นอยู่กับวุฒิภาวะ

- มนุษย์เกิดขึ้นมาโดยมีศักยภาพในการเรียนรู้ภาษามาตั้งแต่เกิด เรียกว่า 
   
     LAD ( Language Acquisition  Device )



O.Hobart Mowrer

คิดค้นทฤษฎีความพึงพอใจ


ความสามารถในการรับฟังและความเพลิดเพลินจากการได้ยินเสียงผู้อื่นและเสียงตัวเอง เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อพัฒนาการทางภาษา



จิตวิทยาการเรียนรู้


1.ความพร้อม  ------- วัย   ความสามารถ  และประสบการณ์เดิมของเด็ก

2.ความแตกต่างระหว่างบุคคล  -------- อิทธิพลทางพันธุกรรม     อิทธิพลจากสิ่งแวดล้อม

3.ความจำ ------- การเห็นบ่อย ๆ  การทบทวนเป็นระยะ   การจัดเป็นหมวดหมู่   การใช้คำสัมผัส

4.การให้แรงเสริม -------- แรงเสริมทางบวก   แรงเสริมทางลบ



- กิจกรรมแต่งนิทานร่วมกันในชั้นเรียน

จับกลุ่มรับผิดชอบ ได้ตอน กลับบ้านไปกินซูชิ






ร้องเพลงใหม่ เพิ่มอีก 5 เพลง 





- สุดท้าย กิจกรรมส่งเสริมทักษะภาษา ส่งตัวแทนกลุ่มออกไป 1 คน ไปอ่านแล้วจำคำที่ได้รับมอบหมาย

เช่น ในถ้ำมีผี  มีหมี มีหีบ 


ประเมินตัวเอง

มาทันเวลา แต่งกายเรียบร้อย เข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีความสุข และสนุกสนาน ความรู้ที่ได้รับเต็มที่ แต่บางเพลง ทำนองไม่ค่อยคุ้นเลยทำให้ร้องไม่ค่อยดีเท่าที่ควร


ประเมินเพื่อน

 มาตรงเวลา และตั้งใจเรียน ตั้งใจและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมอย่างดี  และตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหายอย่างตั้งใจ


ประเมินอาจารย์

 อาจารย์สอนเข้าใจง่าย เพลิดเพลินดี เนื้อหาความรู้อธิบายได้เข้าใจ 










การบันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 4

วันพุธ ที่ 2 เดือนกันยายน  พ.ศ. 2558

เนื้อหา



ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ติดธุระ