พุยพุย

วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

การบันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 5

วันที่ พุธ ที่ 9 เดือนกันยายน พ.ศ. 2558

เนื้อหา

-  สอบเก็บคะแนน เกี่ยวกับพัฒนาการเด็กปฐมวัย อายุ 3ปี - 5ปี




- ทฤษฏีการเรียนรู้


1. แนวคิดของกลุ่มพฤติกรรมนิยม


Skinner >>> สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางภาษา
        
              >>> ให้ความสำคัญกับสิ่งเร้าและดารตอบสนอง


John B. Watson >>> ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก

                                          >>> การวางเงื่อนไขพฤติกรรมของเด็ก เป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้ และผู้ใหญ่สามารถที่จะวางเงื่อนไขให้เด็กเกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์ได้ทุกพฤติกรรม


นักพฤติกรรมนิยมเชื่อว่า

- ภาษาเป็นกระบวนการภายในของมนุษย์

- การเรียนภาษาเป็นผลจากการปรับพฤติกรรมโดยสิ่งแวดล้อม

- เด็กเกิดมาโดยมีศักยภาพในการเรียนรู้ภาษา

- เด็กจะสังเกตและเลียนแบบพฤติกรรม เมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลรอบตัว

- เมื่อได้รับแรงเสริมจะทำให้เด็กเลียนแบบตัวแบบมากขึ้น



2.แนวคิดกลุ่มพัฒนาการทางสติปัญญา

Vygotsky 

- เด็กเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม

- สังคม บุคคลรอบข้าง มีผลต่อการเรียนรู้ภาษาของเด็ก

- เน้นบทบาทของผู้ใหญ่

- ผู้ใหญ่ควรช่วยชี้แนะและขยายประสบการณ์ด้านภาษาของเด็ก


ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของ  Piaget

การที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญในพัฒนาการทางด้านภาษาและสติปัญญา


กระบวนการเรียนรู้ประกอบด้วย 2 กระบวนการ คือ

1.การดูดซึม ( Assimilation )

เป็นกระบวการที่เด็กได้ และดูดซึมภาพต่าง ๆ จากสิ่งแวดล้อมด้วยประสบการณ์ของตนเอง


2.การปรับความเข้าใจเดิมให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ (Accommodation)


- เป็นกระบวนการที่เกิดควบคู่ไปกับการดูดซึม

- โดยการปรับความรู้เดิมที่มีอยู่แล้ว

- ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมหรือประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับ


เมื่อเกิดการดูดซึมและการปรับความเข้าใจ จะเกิดความสมดุล (Equilibrum) กลายเป็นความคิดรวบยอดในสมอง


เพียเจต์ ได้แบ่งพัฒนาการด้านสติปัญญา ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการใช้ภาษา ดังนี้ 

1.ขั้นพัฒนาการด้านประสาทสัมผัส (Sensorimotor Stage) แรกเกิด 2 ปี 

- เด็กเรียนรู้จากประสาทสัมผัสต่าง ๆ 

- เด็กเรียนรู้คำศัพท์จากสิ่งแวดล้อม บุคคลรอบตัว

- เด็กสนใจสิ่งที่อยู่รอบตัวก่อนที่จะเรียนรู้ภาษา

2.ขั้นเตรียมการความความคิดที่มีเหตุผล (Preoperational   Stage)

    2.1 อายุ 2 - 4 ปี (Preconceptual Period) 
 เด็กเริ่มใช้ภาษาและสัญลักษณ์ในการสื่อสาร                  
 เล่นบทบาทสมมติ  การเล่าเรื่อง  แสดงความรู้สึกผ่านสีหน้า 
บอกชื่อสิ่งต่าง ๆ รอบตัว ภาษาของเด็กมีลักษณะยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง 
จะใช้ภาษาหรือสัญลักษณ์แสดงออกโดยคิดว่าคนอื่นคิดเหมือนตน

    2.2 อายุ 4 - 7 ปี  (Intuitive  Period)   ใช้ภาษาในการสื่อสารได้ดีกับคนรอบข้าง ให้ความสนใจกับสิ่งที่เป็นนามธรรมได้บ้าง ยังยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง  รู้จักสร้างมโนทัศน์โดยอาศัยการจัดกลุ่มวัตถุ สามารถเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งของ

3.ขั้นการคิดแบบรูปธรรม (Concrete Operational Stage)  อายุ 7 - 11 ปี  เด็กสามารถแก้ปัญหาได้โดยใช้เหตุผลที่เป็นรูปธรรม

4.ขั้นการคิดแบบนามธรรม  (Formal  Operational  Stage)  อายุ 11 - 15 ปี 
      
     เด็กคิดด้วยเหตุผลอย่างเป็นระบบ

     ใช้เหตุผลในการแก้ปัญหา

     เข้าใจกฎเกณฑ์ของสังคม

     สร้างมโนทัศน์ให้สัมพันธ์กับนามธรรม



3.แนวคิดของกลุ่มที่เชื่อเรื่องความพร้อมทางร่างกาย

Arnold  Gesell

- เน้นความพร้อมทางร่างกายในการใช้ภาษา

- ความพร้อม วุฒิภาวะของเด็กแต่ละคนไม่เท่ากัน

- เด็กบางคนอาจมีความพร้อมทางร่างกายในการใช้ภาษาได้เร็ว

- เด็กบางคนอาจมีปัญหาอวัยวะบางส่วนที่ใช้ภาษาในการสื่อสารบกพร่อง



4.แนวคิดของกลุ่มที่เชื่อว่าภาษาติดตัวมาตั้งแต่เกิด

Noam Chomsky 

ภาษาเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในตัวมนุษย์

- การเรียนรู้ภาษา ขึ้นอยู่กับวุฒิภาวะ

- มนุษย์เกิดขึ้นมาโดยมีศักยภาพในการเรียนรู้ภาษามาตั้งแต่เกิด เรียกว่า 
   
     LAD ( Language Acquisition  Device )



O.Hobart Mowrer

คิดค้นทฤษฎีความพึงพอใจ


ความสามารถในการรับฟังและความเพลิดเพลินจากการได้ยินเสียงผู้อื่นและเสียงตัวเอง เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อพัฒนาการทางภาษา



จิตวิทยาการเรียนรู้


1.ความพร้อม  ------- วัย   ความสามารถ  และประสบการณ์เดิมของเด็ก

2.ความแตกต่างระหว่างบุคคล  -------- อิทธิพลทางพันธุกรรม     อิทธิพลจากสิ่งแวดล้อม

3.ความจำ ------- การเห็นบ่อย ๆ  การทบทวนเป็นระยะ   การจัดเป็นหมวดหมู่   การใช้คำสัมผัส

4.การให้แรงเสริม -------- แรงเสริมทางบวก   แรงเสริมทางลบ



- กิจกรรมแต่งนิทานร่วมกันในชั้นเรียน

จับกลุ่มรับผิดชอบ ได้ตอน กลับบ้านไปกินซูชิ






ร้องเพลงใหม่ เพิ่มอีก 5 เพลง 





- สุดท้าย กิจกรรมส่งเสริมทักษะภาษา ส่งตัวแทนกลุ่มออกไป 1 คน ไปอ่านแล้วจำคำที่ได้รับมอบหมาย

เช่น ในถ้ำมีผี  มีหมี มีหีบ 


ประเมินตัวเอง

มาทันเวลา แต่งกายเรียบร้อย เข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีความสุข และสนุกสนาน ความรู้ที่ได้รับเต็มที่ แต่บางเพลง ทำนองไม่ค่อยคุ้นเลยทำให้ร้องไม่ค่อยดีเท่าที่ควร


ประเมินเพื่อน

 มาตรงเวลา และตั้งใจเรียน ตั้งใจและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมอย่างดี  และตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหายอย่างตั้งใจ


ประเมินอาจารย์

 อาจารย์สอนเข้าใจง่าย เพลิดเพลินดี เนื้อหาความรู้อธิบายได้เข้าใจ 










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น