พุยพุย

วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

การบันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 3

ครั้งที่ 3
วันที่พุธ ที่ 26 เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2558

.... เนื้อหาที่ได้รับ....

>> อาจารย์ได้แจกกระดาษและสี ให้เขียนชื่อจริง - ชื่อเล่น เป็นตัวอักษรหัวกลมตัวเหลี่ยม





>> ทบทวนเพลง 4 เพลง

 ( เพลงนม, เพลงอาบน้ำ, เพลงพี่น้องกัน, เพลงฝึกกายบริหาร )




>> อาจารย์ให้คนแรกเริ่มนับจากผีเสื้อ ต่อไปเป็น ดอกไม้ สลับกันไปจนถึงคนสุกท้าย แล้วแบ่งกลุ่ม คนที่พูดคำว่า ผีเสื้อ อยู่วงนอก ส่วนคนที่พูดว่า ดอกไม้ ให้อยู่วงใน แล้วทำกิจกรรมร่วมกัน โดยการร้องเพลง สวัสดี(อาเซียน) พร้อมทำท่าทางประกอบ




>> อาจารย์เข้าสู่เนื้อหา <<

ภาษา หมายถึง การสื่อความหมาย เป็นเครื่องมือ ในการแสดงความคิดและความรู้สึก

ความสำคัญของภาษา

1.ภาษา เป็นเครื่องมือ ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร

2.ภาษา เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้

3.ภาษา เป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน

4.ภาษา เป็นเครื่องมือช่วยจรรโลงจิตใจ

ทักษะทางภาษา ประกอบด้วย...

         1.การฟัง              2. การพูด                  3. การอ่าน                 4. การเขียน


องค์ประกอบของภาษา...

1. Phonology   >>   คือระบบเสียงของภาษา
                                
                        >>   เสียงที่มนุษย์เปล่งออกมาเพื่อสื่อความหมาย

                        >>   หน่วยเสียงจะประกอบขึ้นเป็นคำในภาษา







2.  Semantic >>  คือความหมายของภาษาและคำศัพท์
            
                    >>  คำศัพท์บางคำสามารถมีได้หลายความหมาย

                   >>  ความหมายเหมือนกันแต่ใช้คำศัพท์ต่างกัน




3. Syntax   >>  คือระบบไวยากรณ์

                  >>  การเรียงรูปประโยค

 4. Pragmatic  >>   คือระบบการนำไปใช้

                       >>   ใช้ภาษาให้ถูกต้องตามสถานการณ์และกาละเทศะ


สวัสดีค่ะ / ครับ




.... พัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัย ....


1. ระยะเปะปะ ( Prelinguistic Stage )

-อายุแรกเกิด ถึง 6 เดือน

-เด็กจะเปล่งเสียงดัง ๆ ที่ยังไม่มีความหมาย เพื่อบอกความต้องการ

-ออดเสียง อ้อ - แอ้

-เป็นช่วงที่ดีในการสนันสนุนให้เด็กมีพัฒนาการทางการพูด

-เด็กที่มีสุขภาพและใจจะมีพัฒนาการภาษาที่ดี


2.  ระยะแยกแยะ  (Jerson Stage )

-อายุ 6 เดือน ถึง 1 ปี

-สามารถแยกแยะเสียงต่าง ๆ ที่ได้ยินได้

-พอใจที่ได้ส่งเสียง

-ถ้าเสียงใดที่เด็กเปล่งออกมาแล้วได้รับการตอบสนองในทางบวก เด็กก็จะเปล่งเสียงนั้นซ้ำอีก

-บางครั้งเด็กจะเลียนเสียงสูง ๆ ต่ำ ๆ ตามเสียงที่คนคุยด้วย


3. ระยะเลียนแบบ  ( Imitation Stage )

-อายุ 1 ถึง 2 ปี

-เลียนเสียงที่เด็กได้ยิน

-เสียงที่เปล่งออกมาอย่างไม่มีความหมายจะค่อย ๆ หายไป

-พูดย้ำคำซ้ำ ๆ ไปมา

-ใช้คำศัพท์ได้ 5 - 20 คำ

-ทำตามคำสั่งง่ายๆได้



4. ระยะขยาย  ( The Stage of Expansion )

-อายุ 2 ถึง 4 ปี




-เรียกชื่อสิ่งของที่อยู่รอบ ๆ ตัว

-พูดเป็นคำ

-รู้จักคำศัพท์ 150 - 300 คำ

-เข้าใจสิ่งที่พูด 2 / 3

-ใช้คำบอกตำแหน่ง

-ใช้คำสรรพนามแทนตัวเอง


                                                 
-พูดเป็นประโยคได้

-รู้จักคำศัพท์ 900 - 1,000 คำ เข้าใจสิ่งที่พูด 90 % 

-ขอความช่วยเหลือเมื่อมีปัญหา

-สนทนาโต้ตอบ / เล่าเรื่องประโยคสั้น ๆ ได้

-สามารถตั้งคำถามโดยใช้เหตุผล

-สนใจนิทานและเรื่องราวต่าง ๆ

-ร้องเพลง ท่องคำกลอน คำคล้องจองง่าย ๆ 

-แสดงท่าทางเียนแบบได้

-รู้จักใช้คำถาม  "อะไร"

-สร้างผลงานตามความคิดของตนเองอย่างง่าย ๆ 

-เข้าใจคำถามง่าย ๆ

-บอกเพศ  ชื่อ  อายุตัวเองได้





-บอกชื่อสิ่งของในรูป

-ใช้คำบุพบทได้

-รู้จักสีอย่างน้อย 1 สี

-ชอบเล่าเรื่อง

-ชอบพูดซ้ำ ๆ

-บอกชื่อและนามสกุลของตัวเองได้

-พยายามแก้ไข้ปัญหาของตัวเองหลังจากได้รับคำชี้แนะ

-สนทนาโต้ตอบ / เล่าเรื่องเป็นประโยคอย่างต่อเนื่อง

-สร้างผลงานตามความคิดของตนเอง โดยมีราบละเอียดเพิ่มขึ้น

-รู้จักใช้คำถาม "ทำไม"



5. ระยะโครสร้าง  ( Structure Stage )


-อายุ 4  ถึง 5 ปี

-ใช้คำบรรยายลักษณะได้ดีขึ้น

-เริ่มเล่นสนุกกับคำ และรู้จักคิดคำและประโยคของตัวเอง

-ทำตามคำสั่ง 3 อย่างได้ต่อกัน

-รู้จักเวลาคร่าว ๆ



6. ระยะตอบสนอง ( Responding Stage )


-อายุ 5 ถึง 6 ปี

-สนทนาโต้ตอบบอกเล่าเป็นเรื่องราวได้

-รู้จักใช้คำถาม "ทำไม"   "อย่างไร" 

-เริ่มพัฒนาไปสู่ภาษาที่เป็นแบบแผนมากขึ้น

-สร้างผลงานตามความคิดของตัวเอง โดยมีรายละเอียดเพิ่มขึ้นและแปลกใหม่

-ใช้ภาษาเหล่านั้นกับสิ่งต่าง ๆ รอบ ๆ ตัว



7.ระยะสร้างสรรค์  ( Creative  Stage )

-อายุ 6 ปีขึ้นไป

-เข้าใจคำพูดที่ใช้ในสังคม

-ภาษาเป็นนามธรรมมากขึ้น

-สนุกกับการแสดงความคิดเห็นโดยการพูดและการเขียน



....ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนการด้านภาษา....



1.วุฒิภาวะ

-อายุ 3 ขวบ จะสามารถใช้คำพูด376 คำ ต่อวัน

-อายุ 4 ขวบ จะพูดได้ 397 คำต่อวัน




2.สิ่งแสดล้อม

-บ้าน พ่อแม่ ผู้ปกครอง

-ครู  โรงเรียน




3.การเข้าใจความหมายในการพูด


4.การจัดชั้นเรียน


5.การมีส่วนร่วม  ( Particpation )





.... พัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัย ....


>> เด็กจะค่อย ๆ สร้างความรู้และเข้าใจ เป็นลำดับขั้น  ครูหรือผู้สอนต้องมีความเข้าใจและยอมรับ
หากพบว่าเด็กใช้คำศัพท์หรือไวยากรณ์ไม่ถูกต้อง ควรมองว่านั่นเป็นกระบวนการเรียนรู้ภาษาของเด็ก <<


-อาจารย์แจกกระดาษ A4 ให้คนละ 1 แผ่น แล้วให้วาดรูปสิ่งที่ตัวเองรักมากที่สุดและขาดไม่ได้




หลังจากวาดเสร็จแล้วให้เว้นบรรทัดไว้ เพื่อให้เขียนบรรยายใต้ภาพโดย ให้เพื่อนข้างๆ เขียนให้ ใช้อักษรหัวกลมตัวเหลี่ยม




เมื่อเสร็จแล้วอาจารย์ขออาสาสมัครออกไปนำเสนอผลงานของตนเอง (ได้ออกไปนำเสนอด้วย) อาจารย์ให้รางวัลความกล้าแสดงออกโดยให้ดาวเด็กดี คนละ 1 ดวง


-กิจกรรมสุดท้าย 

อาจารย์แจกแผ่นเพลง แผ่นที่ 2 แล้วสอนร้องเพลง 5 เพลง



ประเมินตนเอง

มาเข้าเรียนทันตามที่อาจารย์นัดหมาย และร่วมกิจกรรมด้วยความสนุกสนานดี


ประเมินเพื่อน

เพื่อนหลายคนมาทันเวลา บางคนสายบ้างเนื่องจากรถติด แต่ทุกคนก็ตั้งใจเรียน และให้ความร่วมมือดีกับทุกกิจกรรม

ประเมินอาจารย์


เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย จัดการเรียนการสอนได้สุกสนาน น่าเรียน










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น